วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดพลังงาน

aca85396c1801aa1954a1a86f36d5d4cในช่วงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดเสมอ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยอากาศร้อนสุดๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแล้วว่าเมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อสร้างความเย็นให้ที่อยู่อาศัยมากเป็นอันดับต้นๆ การเลือกแอร์ที่ประหยัดไฟจึงเป็นปัจจัยแรกที่ควรนึกถึงทุกครั้งที่เลือกซื้อ และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นระดับความประหยัดไฟฟ้าสูงที่สุดออกโดยกระทรวงพลังงาน และจะมีตรากระทรวงประทับอยู่บนฉลากเสมอ แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงเป็นแอร์ที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเลือกซื้อแอร์ติดตั้งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์แบบฝังในเพดาน แอร์ติดผนัง หรือแอร์เคลื่อนที่

หากต้องการประหยัดค่าไฟและช่วยลดการใช้ไฟฟ้าของประเทศก็คงต้องเริ่มต้นด้วยการประหยัดใช้แอร์เป็นสิ่งแรก เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงถึงร้อยละ 40 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหนึ่งหลังทีเดียว ฉะนั้นการบำรุงรักษาแอร์ให้อยู่ในสภาพดีจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก เพราะหากปล่อยให้แอร์สกปรก ฝุ่นจับใส้กรอง จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดลงครึ่งหนึ่ง แต่หากปล่อยให้ใส้กรองอากาศสกปรกอุดตัน แอร์ก็จะปล่อยความเย็นได้เพียงแค่ 6,000 บีทียูเท่านั้น ซึ่งอุณหภูมิจะไม่เย้นตามที่ตั้งใจแล้ว ยังสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุอีกด้วย

วิธีประหยัดพลังงานในการใช้เครื่องปรับอากาศ
1.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5
2.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ
3.ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบายอุณหภูมิที่ตั้งต่ำลง 1 องศา
4.ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
5.ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสารหรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
6.ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศเพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
7.ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร
8.หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ
9.ควรปลูกต้นไม้รอบๆอาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน
10.ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
11.ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น
12.ในสำนักงานให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น.
13.ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ

วิธีการปรับเปลี่ยนบ้านเก่าให้ประหยัดพลังงาน

การจะสร้างบ้านให้ประหยัดพลังงานได้นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากมีบ้านของตนเองอยู่แล้วก็สามารถทำให้บ้านธรรมดาเป็นบ้านที่ประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ โดยใช้เทคนิคในการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านี้ก็สามารถทำให้บ้านเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้ไม่ยาก
วิธีการปรับเปลี่ยนบ้านให้ประหยัดพลังงาน มีดังนี้

1.รั้วบ้านต้องมีความโปร่ง เพื่อให้ลมเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านไม่อับ ควรใช้วัสดุที่สามารถสะสมความร้อนไว้ในตัวเองได้ เช่น อิฐมอญ คอนกรีต เสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก

2.ปลูกต้นไม้ให้บ้านมีความสดชื่น ใบไม้ช่วยลดแสงแดดที่ตกกระทบตัวบ้านและให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

3.ต้องมีช่องให้ลมเข้าออกทางประตูหน้าต่าง อย่างน้อยสองด้าน มิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่องหน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อนเกิดขึ้นมากที่สุด

4.ติดฉนวนกันความร้อนให้กับห้องที่มีเครื่องปรับอากาศทำให้ห้องเย็นสบายจากแสงแดดและ ป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้านแล้วยังทำให้สภาพภายในห้องปรับลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีความร้อนสะสมอยู่ภายในห้องน้อยจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศได้

5.วางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องในปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น

6.ทาสีผนังให้เป็นสีอ่อน ซึ่งสีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม

7.หันบ้านให้ถูกทิศ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่องหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย